ข้อควรรู้ในการตั้งศาล
ตำแหน่งศาล ทิศทางการตั้งศาล เครื่องบูชา ฤกษ์ตั้งศาล สิ่งต้องห้ามบูชาศาล บทสวดบูชาศาล
สิ่งที่ต้องคำนึงในการตั้งศาลพระภูมิ คือ สถานที่ตั้ง,ทิศทาง,วันและฤกษ์ตั้ง,ความสูงของศาลพระภูมิและผู้ประกอบพิธีกรรมการตั้งศาลพระภูมิ
สถานที่ที่ตั้งศาล
สถานที่ที่ตั้งศาล มีหลักการพิจารณาดังนี้
1.ที่ตั้งศาลต้องเป็นบริเวณพื้นดิน มิใช่บริเวณเดียวกับพื้นของตัวบ้าน
2.หากไม่มีพื้นที่ที่เป็นพื้นดิน สามารถทำการตั้งศาลบนชั้นดาดฟ้าได้ แต่ส่วนใหญ่ศาลที่ตั้งบนดาดฟ้าจะเป็นศาลเทพต่างๆ เช่นพระพรหม หรือ พระนารายณ์ มิใช่พระภูมิเจ้าที่
3.จุดที่ตั้งของศาลต้องไม่ถูกเงาของตัวบ้านทอดลงมาทับ
4.ที่ตั้งของศาลควรอยู่ห่างจากบริเวณที่ตั้งของห้องน้ำ
5.อย่าตั้งศาลให้อยู่ใกล้กับตัวบ้านมากนัก
6.อย่าหันหน้าศาลเข้าสู่บริเวณที่ตั้งของห้องน้ำ
7.ไม่ควรตั้งศาลให้หันหน้าตรงกับประตูหน้าบ้าน
8.ตั้งศาลให้ห่างจากรั้วหรือกำแพงบ้านอย่างน้อย 1 เมตร
9.ถ้าสามารถยกพื้นที่ตั้งศาลให้สูงขึ้นสัก 1 คืบ จากพื้นดินได้ ก็เหมาะสมอย่างยิ่ง
10.ความสูงของศาล ควรสูงเหนือระดับสายตาของผู้เป็นเจ้าของบ้านขึ้นไปเล็กน้อย
ทิศทางการหันหน้าศาลพระภูมิสู่ทิศมงคล
1.ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ทิศอีสาน เป็นทิศที่ดีที่สุดหากตั้งศาลหันไปทิศนี้บ้านนั้นจะมีความเจริญรุ่งเรืองตลอดไป
2.ทิศตะวันออก หรือ ทิศบูรพา เป็นทิศที่ดีอันดับ 2 หากตั้งศาลหันไปทิศนี้บ้านนั้นจะมีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ประมาณ 100 ปี หลังจากนั้น จะมีแต่เสื่อมลงๆจนถึงขั้นหาความสุขความเจริญไม่ได้
3.ทิศตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ทิศอาคเณย์ เป็นทิศที่ดีอันดับ 3 หากตั้งศาลหันไปทิศนี้บ้านนั้นจะมีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ประมาณ 50 ปี หลังจากนั้น จะมีแต่เสื่อมลงๆ จนถึงขั้นหาความสุขความเจริญไม่ได้
ทิศต้องห้ามในการตั้งศาลพระภูมิ
ทิศต้องห้ามในการตั้งศาลพระภูมิ คือ ทิศตะวันตกและทิศใต้
เมื่อหาทิศทางตั้งศาลได้แล้วจะต้องพูนดินให้สูง 1 คืบ เกลี่ยดินด้วยมือและทุบให้แน่น ห้ามใช้เท้าเด็ดขาด และเตรียมน้ำมนต์ไว้พรมบริเวณพื้นดินเพื่อขับไล่ภูตผีปีศาจและสิ่งชั่วร้ายต่างๆ น้ำมนต์ที่ว่านี้เรียกว่า " น้ำมนต์ธรณีสาร " น้ำมนต์ธรณีสารนี้ ทำได้โดยนำน้ำธรรมดาไปให้พระท่านสวดพระพุทธมนต์ทำเหมือนน้ำมนต์ทั่วไปแต่ต่างกัน ตรงที่ให้ท่านนำใบไม้ต้นธรณีสารมาใส่ลงในน้ำที่จะทำน้ำมนต์
วันและฤกษ์ตั้งศาล
มีความสำคัญมาก ควรเลือกวันที่ดีและมีความเป็นสิริมงคลเพื่อให้ประสิทธิ์ผลในทางมงคล แก่ผู้อยู่อาศัยในบ้านเรือนนั้นสืบต่อไป วันต่อไปนี้ถือเป็นวันที่เป็นมงคลฤกษ์ แต่ถ้าวันข้างขึ้น หรือข้างแรมดังกล่าวไปตรงกับวันต้องห้ามของเดือนใด ให้เลี่ยงไปใช้วันอื่นเสีย
เวลาฤกษ์อันเป็นมงคล
วันต้องห้าม
จะสังเกตได้ว่า จะไม่ปรากฏว่ามี วันอาทิตย์ เป็น ข้อห้ามเลย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าให้ยึดเอาวันอาทิตย์เป็นวันที่ดีที่สุดสำหรับการตั้งศาล เพราะคนโบราณถือกันว่า วันอาทิตย์นั้นแม้จะจะเป็นวันที่มีกำลังแรงดี แต่เป็นวันแรงและวันร้อน ไม่เหมาะที่จะทำการตั้งศาล เพราะบ้านอาจจะ ร้อน จรปราศจากความร่มเย็นเป็นสุข แต่ ถ้าหากผู้กระทำพิธีมีเคล็ดมีมนตร์แก้ความร้อนของวันได้ ก็สามารถคิดทำการตั้งศาลในวันนี้ได้ตามความสะดวก
ความสูงของศาล
ขึ้นอยู่กับ ตัวเจ้าของบ้าน โดยให้ระดับฐานหรือชานชาลาพระภูมิอยู่เหนือระดับปาก (บางตำราว่าอยู่เหนือคิ้วพอดี ) ของผู้เป็นเจ้าของบ้าน ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนเจ้าบ้าน ก็ควรจะตั้งศาลพระภูมิขึ้นใหม่
การใช้ศาลพระภูมิร่วมกัน กรณีที่เป็นหมู่บ้าน,ชุมชนหรือตึกแถว ให้ยึดเอาความสูงจาก เจ้าของผู้สร้างเริ่มแรก หรือหัวหน้าชุมชนนั้นๆ โดยให้เป็นตัวแทนเพื่อมาทำการยกศาลพระภูมิขึ้นเพื่อบอกกล่าวและสักการะ ขอให้ท่านดูแลปกปักษ์รักษาให้คุณ ให้โชคลาภ ความเจริญรุ่งเรืองแก่ผู้อยู่อาศัยทุกคน
การปักเสาตั้งศาล
ต้องเตรียมหลุมให้เสร็จก่อนเริ่มพิธี (ค่อยมีพิธีในวันรุ่งขึ้น) โดยต้องเตรียมของดังนี้พานครู 1 พาน ใช้สำหรับใส่ข้าว ธูป เทียนขาว ดอกไม้หรือพวงมาลัยสด เหล้า บุหรี่ ผ้าขาว เงิน 6 สลึงหรือ 99 บาท
รายการของมงคลใส่หลุม
1.เหรียญเงิน 9 เหรียญ 2.เหรียญทอง 9 เหรียญ ( เหรียญสลึงหรือ 50 สตางค์ ก็ได้ )
3.ใบเงิน 9 ใบ 4.ใบทอง 9 ใบ 5.ใบนาค 9 ใบ
6.ใบรัก 9 ใบ 7.ใบมะยม 9 ใบ 8.ใบนางกวัก 9 ใบ
9.ใบนางคุ้ม 9 ใบ 10.ใบกาหลง 9 ใบ 11.ดอกบานไม่รู้โรย 9 ดอก
12.ดอกพุทธรักษา 9 ดอก 13.ไม้มงคล 9 ชนิด 14.แผ่น เงิน,ทอง,นาค 1 ชุด
15.พลอยนพเก้า 1 ชุด
การกลบหลุมนั้นให้ใช้มือกด ห้ามใช้เท้าโดยเด็ดขาด
ผู้ประกอบพิธีกรรมการตั้งศาลพระภูมิ
ควรจะเป็นผู้ที่ปฏิบัติธรรมมีศีลธรรม ทำบุญทำทานประจำ มีความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม จะทำให้การตั้งศาลพระภูมิบังเกิดผลดี มีความเจริญรุ่งเรืองแก่เจ้าของบ้าน หรือเจ้าบ้านจะเป็นผู้กระทำพิธีกรรมก็ได้ โดยศึกษาขั้นตอนพิธีกรรมต่างๆ และให้ถือศีลกินเจ 7 วัน ( 3,5,7 วันก็ได้ หรือมากกว่านี้ก็ได้ )
ส่วนประกอบสำคัญของศาลพระภูมิ
จะเหว็ดศาลพระภูมิ จะเป็นรูปพระภูมิอยู่ในแผ่นคล้ายแผ่นเสมา มือขวาถือพระขรรค์ มือซ้ายถือถุงเงินหรือสมุด(หนังสือ) และการปลุกเสกจะเหว็ดให้เป็นองค์พระภูมิมีดังนี้ บรรจุธาตุทั้ง 6 คือ บรรจุพระพุทธคุณ,บรรจุพระธรรมคุณ,บรรจุพระสังฆคุณ ตลอดเทวคุณและวิญญาณธาตุเข้าไปในจะเหว็ดจากที่เรียกว่า จะเหว็ดเมื่อปลุกเสกแล้วก็จะเรียกว่า "พระภูมิ" บริวารของพระภูมิจะมี
1.ตุ๊กตาชาย-หญิง อย่างละ 1 คู่
2. ตุ๊กตาช้าง-ม้า อย่างละ 1 คู่
3.ละครยก 2 โรง
เครื่องประดับตกแต่งก็จะประกอบด้วย
1.แจกัน 1 คู่ 2. เชิงเทียน 1 คู่ 3.กระถางธูป 1 ใบ
4. ผ้าผูกจะเหว็ด 1 ผืน 5.ผ้าพันศาล 1 ชุด (ผ้าแพร 3 สี คือ สีเขียว,สีเหลืองและสีแดง)
6.ฉัตรเงิน-ทอง 2 คู่ 7. ด้ายสายสิญจน์ 1 ม้วน 8.ผ้าขาว 1 ผืน
9. ทองคำเปลว 10.แป้งเจิม 1 ถ้วย 11.ดอกบัว 9 ดอก
12.ดอกไม้ 7 สี(มาลัย 7 สี )
เครื่องสังเวยสำหรับตั้งศาล
จะประกอบด้วยอาหารคาวหวานดังนี้
1.หัวหมู 1 หัว 2.ไก่ต้ม 1 ตัว 3.เป็ด 1 ตัว
4.ปลานึ่ง 1 ตัว 5.ปู หรือ กุ้ง 1 จาน 6.บายศรีปากชามยอดไข่ 1 คู่
7.น้ำจิ้ม 2 ถ้วย 8.ข้าวสวย 2 ถ้วย 9.เหล้า 1 ขวด
10.น้ำชา 2 ถ้วย 11.น้ำสะอาด 2 แก้ว 12.มะพร้าวอ่อน 1 คู่
13.ขนมต้มแดง 2 จาน 14.ขนมต้มขาว 2 จาน 15.ขนมถั่วงา 2 จาน
16.ขนมถ้วยฟู 2 จาน 17.ขนมหูช้าง 2 จาน 18.เผือก-มันต้ม 2 จาน
19.ฟักทอง 2 ผล 20.แตงไทย 2 ผล 21.ขนุน 2 จาน
22.สับปะรด 2 ผล 23.กล้วย 2 หวี 24.ผลไม้ 5 ชนิด 2 จาน
25.พานหมาก พลู บุหรี่ 1 คู่
**ถ้าขนาดบ้านและศาลพระภูมิเล็ก ก็สามารถใช้สับปะรดเพียง 1 ผลได้แต่จัดแบ่งเป็น 2 จาน *
เครื่องสังเวยสำหรับตั้งศาลมังสวิรัติ
1.มะพร้าวอ่อน 1 คู่ 2.ถั่วคั่ว 2 จาน 3.งาคั่ว 2 จาน
4.เผือก-มันต้ม 2 จาน 5.ขนมต้มแดง 2 จาน 6.ขนมต้มขาว 2 จาน
7.ขนมถั่วงา 2 จาน 8.ขนมถ้วยฟู 2 จาน 9.ฟักทอง 2 ผล
10.แตงไทย 2 ผล 11.ขนุน 2 จาน 12.สับปะรด 2 ผล
13.สับปะรด 2 ผล 14.ผลไม้ 5 ชนิด 2 จาน 15.พานหมาก พลู บุหรี่ 1 คู่
16.น้ำสะอาด 2 แก้ว 17.ข้าวสวย 2 ถ้วย 18.น้ำชา 2 ถ้วย
19.นม 2 ถ้วย 20.เนย 2 ถ้วย
ผลไม้ที่ห้ามนำถวาย
1. มังคุด 2. ละมุด 3. ระกำ 4.มะเฟือง 5.มะไฟ
6.น้อยโหน่ง 7. น้อยหน่า 8.กระท้อน 9.ลูกท้อ 10.ลูกจาก
11.ลูกพลับ 12.มะขวิด 13.มะตูม 14.พุทรา 15.ลางสาด
คนไทยโบราณมีความเชื่อว่าผลไม้ทั้ง 15 ชนิดนี้เป็นอัปมงคล ไม่ควรนำมาถวายเป็นเครื่องสังเวยหน้าศาลพระภูมิเป็นอันขาด
ส่วนฤกษ์ที่ห้ามยกศาลโดยเด็ดขาด
ฤกษ์คนจน จะทำให้ตกต่ำไม่เจริญก้าวหน้า
ฤกษ์โจร จะถูกโจรผู้ร้ายเบียดเบียน
ฤกษ์นักการเมือง จะถูกโยกย้ายบ่อย อยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง
ฤกษ์พระสงฆ์ ไม่เหมาะกับชาวบ้านให้งดเว้น เพราะถือเป็นฤกษ์ขัดลาภ
ถ้าเป็นวันดีตามโบราณจะเป็นวันที่ตรงกับข้างขึ้นหรือข้างแรม ๒, ๔, ๖, ๙, ๑๑ ค่ำ
ส่วนวันเดือนที่ห้ามยกศาลมีวันพฤหัสบดี
วันเสาร์เดือน ๑, ๕, ๙ วันพุธ
วันศุกร์เดือน ๒, ๖, ๑๐
วันอังคารเดือน ๓, ๗, ๑๑ และวันจันทร์เดือน ๔, ๘, ๑๒
เมื่อหาฤกษ์งามยามดีแล้ว จึงหาที่ตั้งศาลตามตำรากล่าวว่าต้องเป็นที่ที่สะอาด เงาบ้านไม่ควรทับศาล และเงาศาลไม่ควรทับบ้านเช่นกัน เพราะจะเป็นการหมิ่นพระภูมิ ถือเป็นอัปมงคล และห้ามหันหน้าเจว็ดตรงทางเข้าบ้าน เพราะถือว่าเป็นการเหยียบศรีษะพระภูมิท่าน บริเวณที่ดินที่จะใช้ตั้งศาล ควรมีความกว้างยาวเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ๔ x ๔ ยกพื้นให้เหนือพื้นดินประมาณ ๑ คืบ ให้มีพื้นที่พอเดินรอบศาลได้
วิธีบูชาศาลพระภูมิ
ต้องเข้าทางปลายเท้าถือเป็นเคล็ดตามข้อดังนี้
วันอาทิตย์ - เข้าทางทิศตะวันตก
วันจันทร์ - เข้าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
วันอังคาร - เข้าทางทิศเหนือ
วันพุธ - เข้าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
วันพฤหัส - เข้าทางทิศตะวันออก
วันศุกร์ - เข้าทางทิศใต้
วันเสาร์ - เข้าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ตรีศุลี่เทวาลัยดอทคอม: ความรู้เกี่ยวกับการตั้งศาลพระภูมิ
คัมภีร์ฮวงจุ้ย
บ้านไหมทอง
ที่มา www.panyathai.or.th
ศาลเจ้าที่
มักจะเป็นวิญญาณที่ปกปักษ์รักษาบ้านเรือนต่าง ๆ เช่น บรรพบุรุษ เจ้าของที่ดิน เจ้าที่เจ้าทาง
ลักษณะส่วนใหญ่จะเป็นเรือนไทยจำลองแบบบ้าน มี เสา 4 เสา หรือ 6 เสา
เครื่องประดับศาลเจ้าที่
1. แจกันดอกไม้ 1 คู่ 2. เชิงเทียน 1 คู่ 3. กระถางธูป 1 กระถาง
4. ตุ๊กตาตา-ยาย 6. ตุ๊กตาชาย-หญิง 1 คู่ 7. ช้าง-ม้า อย่างละ 1 คู่
8. ละคร 2 โรง 9. โอ่งน้ำเล็ก 2 ใบ
เครื่องสังเวยเจ้าที่
1.หัวหมู 1 หัว 2.เป็ด-ไก่ต้ม –ปูทะเลต้ม อย่างละ 1 ตัว 3.ปลาช่อนแป๊ะซะ 1 ตัว
4.มะพร้าวอ่อน 1 ผล 5.ผลไม้ 5 ชนิด 1 ถาด 6.เหล้า 1 ขวด
7.น้ำชา 2 ถ้วย 8.น้ำสะอาด 2 แก้ว 9.หมากพลู บุหรี่ อย่างละ 1 ที่
10.โต๊ะวางเครื่องสังเวย 1 ตัว 11.เก้าอี้ 1 ตัว 12.ทองเปลว 9 แผ่น
13.ธูป 14.เทียนขาว 9 เล่ม 15.ผ้าแพร 3 สี
16.ดอกไม้ 17.ด้ายสายสิญจน์ 1 ม้วน
คาถาถวายเครื่องสังเวยพระภูมิเจ้าที่
นะโม เม พระภูมิเทวานัง ธูปะทีปะ จะ ปุปผัง สักการะ วันทานัง สูปะพะยัญชะนะสัมปันนัง โภชะนานัง สาลีนัง สะปะริวารัง อุทะกังวะรัง อาคัจฉันตุ ปะริภุญชันตุ สัพพะทา หิตายะ สุขายะ สันติเทวา มะหิทธิกา เตปิ อัมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
— การบูชาพระพรหม —
แท่น หรือ หิ้งบูชา ถ้าองค์เทวรูปมีขนาดใหญ่ ควรสร้างเป็นศาลอยู่นอกอาคาร แต่ถ้ามีขนาดไม่เกิด 1 ศอกสามารถประดิษฐานในบ้านได้และเนื่องจากพระพรหมมี 4 พระพักต์ การจัดวางเทวรูปในบ้านจึงไม่ควรให้พระพักต์ใดพระพักต์หนึ่งหันไปชิดผนังมากเกินไปควรเว้นระยะออกมาจากผนังพอสมควร ถ้าเป็นเทวาลัยหรือศาลนอกบ้าน จะต้องเป็นเทวาลัยที่เปิดออกทั้ง 4 ทิศ โต๊ะหมู่บูชาและการทาสี ควรใช้ผ้า สีขาว สีเหลือง สีชมพู หรือสีอ่อนๆไม่ฉูดฉาดและห้ามใช้สีดำ การกราบไหว้พระพรหม หากสถานที่กราบไหว้เป็นเทวาลัยขนาดใหญ่ ควรไหว้พระพรหมให้ครบทั้ง 4 พระพักตร์ เริ่มจากพระพักต์กลาง เดินวนไปตามเข็มนาฬิกา จนกลับมาที่เดิม
เครื่องบูชา เครื่องสังเวยต่างๆ
ดอกไม้ กลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกมะลิ ดาวเรือง ดอกบัว ดอกโมก กำยานและธูป ใช้จุดได้ทุกกลิ่น
อาหารที่ถวาย ควรเป็นขนมหวาน รสอ่อน ไม่ปรุงรสมากเกิน ไม่เค็มจัด ไม่ผสมสี เน้นธรรมชาติให้มากที่สุด ผลไม้ ถวายได้ทุกชนิด แนะนำมะพร้าว สาลี่ ชมพู่ กล้วย สามารถถวาย ธัญพืช เช่น ข้าวกล้อง ข้าวสาร ข้าวหุง เมล็ดถั่วต่างๆ งาขาว งาดำ ลูกเดือย เผือก มัน สมุนไพร เมล็ดพริกไทย ผักชี ใบกระเพรา พืชผักสดต่างๆ (ของทุกอย่างจะสุกหรือไม่สุกก็ได้ เช่น ผักสดก็ถวายได้ ผักต้มสุกก็ถวายได้) ห้ามถวายเนื้อสัตว์เด็ดขาด
บทสวดมนต์บูชาพระพรหม
ก่อนสวดบูชาพระพรหม ต้องสวดบูชาพระพิฆเนศก่อนทุกครั้ง ซึ่งเป็นกฎการไหว้เทพของศาสนาพราหมณ์ทุกนิกาย
บทสวดพระพรหมของพราหมณ์ (เลือกสวดบทใดก็ได้)
– โอม อาฮัม พรหมมา อัสมิ (บทสวดหลัก)
– โอม สารบัม กฮาลวิดาอี พรหมมา
– สัต ชิด เอกัม พรหมมา
– โอม พรหมมะเน นะมัส
– โอม พรหมมา เทวา นะมัสเต
– โอม สารเว ภะโย พรหมมา เนพะโย นะมะฮา
– โอม ปรเมศะ นะมัสการัม โองการะ นิสสะวะรัม
พรหมเรสะยัม ภูปัสสะวา วิษณู ไวยะทานะโมโทติลูกะปัม
ทะระมา ยิกยานัม ยะไวยะลา คะมุลัม
สทานันตะระ วิมุสะตินัม
นะมัสเต นะมัสเต
จะอะการัง ตะโถวาจะ เอตามาตาระยัต ตะมันตะรามา
กัตถะนารัมลา จะสะระวะปะติตัม
สัมโภพะกะละ ทิวะทิยัม มะตัมยะ
– โอม จตุรมุขคาย วิดมาเฮ
ฮันษา รุทยา ดีมาฮี
ตันโน พรหมมา ประโจทะยาตุ
– โอม จตุรมุขคาย วิดมาเฮ
กามันดาลุทารัย ดีมาฮี
ตันโน พรหมมา ประโจทะยาตุ
– โอม ปรเมศวราเย วิดมาเฮ
ปารตัตวาเย ดีมาฮี
ตันโน พรหมมา ประโจทะยาตุ
– โอม นะโม ราโช ชุเศอิ สริสตะอุ
สติตะอุ สัตตะวา มายายะชา
ทะโม มายายะ สัมหะริเนอิ
วิศวารูปายะ เวทาเสอิ
โอม พรหมมันไย นะมะฮา
– โอม อีม หรีม ชรีม กลีม สาอะห์ สัต ชิด เอกัม พรหมมา
บทสวดสรรเสริญพระพรหม
โอม สารบัม กฮาลวิดาอี พรหมมา (3 จบ)
โอม สัตยัม กฮานัม อานันดัม พรหมมา
โอม สัตยัม กฮานัม อานันตัม พรหมมา
โอม สัตยัม กฮานัม อัมรึตัม พรหมมา
โอม สัตยัม กฮานัม อาบโฮยัม พรหมมา
โอม มยามาตมาฮา พรหมมา
โอม ปรากนอานาม อานันดัม พรหมมา
โอม ตัต สัต โอม
ความหมาย :
ทุกสรรพสิ่งในจักรวาล ถูกสร้างโดยพระพรหมมา
ขอน้อมสักการะพระพรหมมา ผู้เป็นความจริงอันสูงสุด
พระองค์คือความสุข พระองค์คือสรรพความรู้
พระองค์คือสิ่งที่อยู่อย่างนิรันดร์
พระองค์คือสิ่งอันเป็นอมตะ
พระองค์คือสิ่งผู้กล้าหาญเหนือผู้อื่นใด
สรรพความรู้และความสุขทั้งหลายคือพระพรหมมา
ทุกอนูของเราทั้งหลายจึงขอถวายแด่พระพรหมมา
—————————————————————
บทสวดพระพรหมของพุทธ
(เลือกสวดบทใดก็ได้)
– โองการพินธุนาถัง อุปปันนัง
พรหมมาสะหะปะตินามะ
อาทิกัปเป สุอาคะโต ปัญจะปะทุมมังทิสะวา
นะโมพุทธายะ วันทะนังฯ
– โอม พรหมมะเณ นะมะ โองการพินทุ นาถังอุปปันนาถัง
สุอาคะโต ปัญจะปะทุมมัง
พรหมมาสะหัมปะตินามัง ทิสสะวา นะโมพุทธายะ วันทานัง
– โอม พระพรหมมา ปฏิพาหายะ
ทุติยัมปิ พระพรหมมา ปฏิพาหายะ
ตะติยัมปิ พระพรหมมา ปฏิพาหายะ
– พรหมมาจิตตัง ปิยังมะมะ
นะชาลีติ นะมะพะทะ
นะมะอะอุ เมกะอะอุ
– ปิโย เทวะ มะนุสสานัง ปิโย พรหมมา นะมุตตะมัง
ปิโย นาคะ สุปันณานัง ปินินทะริยัง นะมามิหัง
—————————————————————
การกราบไหว้สักการะเทวรูปพระพรหม
หากไม่แน่ใจว่าเป็น พระพรหมของฮินดู (ผู้สร้างโลก)หรือเป็น พระพรหมของพุทธศาสนา (ผู้ทรงพรหมวิหาร) แนะนำให้สวดบูชาทั้ง 2 คติเลย ซึ่งไม่เป็นการผิดบาปเนื่องจากการสักการะเทวรูปพรหมในคติหนึ่งแล้วระลึกไปถึงอีกคติหนึ่งจะนำมาซึ่งสิริมงคลทั้ง 2 ศาสนา (พุทธ-พราหมณ์)
ที่มา : http://www.siamganesh.com